จากการที่รัฐบาลพม่ามีนโยบายในการปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรง กับรัฐบาลและดำเนินมาตรการปราบปรามชนกลุ่มน้อยอย่างรุนแรง ประกอบกับการผู้ รบระหว่างชนกลุ่มน้อยด้วยกันเองทำให้ราษฎรพม่ารวมทั้งครอบครัวของกองกำลังชนกลุ่มน้อย พากันอพยพเข้ามาอาศัยในเขตประเทศไทยบางกลุ่มเข้ามาอาศัยเป็นการชั่วคราว เมื่อเหตุการณ์สงบก็จะอพยพกลับ บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการ ถาวรเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม รัฐบาลไทยได้ผ่อนผันให้ บุคคลเหล่านั้นเข้ามาอาศัยในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จนกระทั้งในปี พ.ศ.2519
สถานการณ์ในพม่าได้ผ่อนคลายลงจนอยู่ในภาวะปกติ กระทรวงหาดไทยจึงได้มี
ประกาศเรื่องห้ามคนต่างด้าวสัญชาติพม่าอพยพหลบหนีภัยเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อ
วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519 ตามพื้นที่จังหวัดชายแดนของประเทศไทยด้านติดต่อกับ
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า หากมีผู้เข้ามาให้ถือว่าเป็นการเข้ามาโดยผิด
กฎหมาย เข้าหน้าที่จะจับกุมดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองโดยเคร่งครัด ทุกรายตามสถิติของทางราชการ
ปัจจุบันมีผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่าแยกเป็น ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ (
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 2539, 38 )
ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเป็นบุคคลสัญชาติพม่าที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อน
9 มีนาคม พ.ศ.2519 ด้วยเหตุผลทางการเมือง แต่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว
ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม เมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อยแล้วให้เดินทางกลับประเทศของตนระหว่างอาศัยอยู่ในประเทศไทย
ทางราชการได้จัดทำบัญชีรายชื่อบุคคล ทะเบียนประวัติ และบัตรประจำตัวผู้
พลัดถิ่นสัญชาติพม่าควบคุมไว้
โดยกำหนดเขตที่อยู่ในจังหวัดชายแดนไทย - พม่า ปัจจุบันมี 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่
เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี ระนอง และ ประจวบคีรีขันธ์
มีจำนวนประมาณ 27,443 คน
สามารถประกอบ อาชีพได้ 27 ประเภท ตาม พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521
1.ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่าโดยไม่มีวีซ่า
เป็นผู้ที่เข้ามาหลัง 9 มีนาคม พ.ศ.2519 ด้วย เหตุผลทางด้านเศรฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ด้องถูกจับกุม
ดำเนินคดี และส่งออกนอกราชอาณาจักร
เพราะทางราชการไม่มีนโยบายให้บุคคล
ประเภทนี้พักอาศัยในราชอาณาจักร
แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถส่งกลับได้ และได้ตั้ง หลักแหล่งในประเทศแล้ว ทางราชการได้จัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวไว้แล้วเช่นกัน มีจำนวน 101,845 คน
2.ผู้หลบหนีการสู้รบในพม่า
(ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 – ปัจจุบัน ) ซึ่งเป็นรายที่
รัฐพม่าได้ทำการปราบปรามชนกลุ่มน้อยต่างๆ อย่างรุนแรง ทำให้มีผู้หลบหนีภัยการสู้
รบเข้ามาในพื้นที่ชายแดนไทย - พม่า จำนวนประมาณ 70,000 คน ทางราชการได้จัดที่
พักพิงชั่วคราวให้ตามแนวชายแดน และให้ความช่วยเหลือเบื้องด้นตามหลักมนุษยธรรม
คนเหล่านี้ถือเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
3.ผู้ลักลอบเข้ามาทำงาน
ถือเป็นผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเช่นกันและ
ทางราชการมีนโยบายผ่อนผันให้ทำงานได้ในบางพื้นที่ และบางอาชีพที่มีความจำเป็น มี
จำนวนกว่า 300,000 คน
4.ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย
มี 2 พวก คือ คนไทยที่อพยพเข้าไปทำมาหากินในพม่าเมื่อประมาณ
30-40 ปี มา แล้ว ต่อมาอพยพกลับเข้ามาในประเทศไทย
ผู้อพยพเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดตากคนไทยที่ติดไปกับดินแดนที่เสียให้อังกฤษ
คือ ทวาย มะรีด และ ตะนาวศรี คนไทยพวกนี้อพยพเข้ามาอยู่แถวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
และระนอง บุคคลเหล่านี้สภาพความเป็นอยู่เช่นเคียวกับคนไทยโดยทั่วไปคือมีภาษา ธรรมเนียม ประเพณี รูปร่าง หน้าตา
ตลอดจนผิวพรรณคล้ายคนไทยและมีญาติพี่น้องเป็นคนไทย
ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อชาติ
ไทยไม่มีหลักฐานทางทะเบียนและบัตรประจำตัว จึงทำให้ไม่ได้สัญชาติไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น