วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ข้อปฏิบัติในการทำธุรกิจนำเที่ยว


ไกด์ท่องเที่ยว ขอให้ไทยเสนอผูกพันกิจกรรมโดยไม่มีข้อจำกัดใน mode 1,2 และ 3 ส่วนใน mode 4 ขอให้อนุญาตให้คนต่างชาติสามารถซื้อเป็น เจ้าของที่ดินและอาคารได้ ขยายระยะเวลาในการพำนักเริ่มแรกของบุคคลที่เป็น Intra- Corporate Transferee เป็น 3 ปี และต่ออายุได้อีก 1 ปีโดยไม,จำกัดจำนวนครั้ง ยกเลิก ENTs รวมทังขอให้ผูกพันการเข้ามาให้บริการของ Contractual service supplier โดย พำนักได้เป็นเวลา 90 วันหรือตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นด้น
ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและตัวแทนท่องเที่ยว ขอให้ไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องการเปิดตลาดและการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ ใน mode 1 และ 3

อินเดีย

โรงแรมและภัตตาคาร ขอให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการเปิดตลาด และ การปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ ใน mode 3  ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและตัวแทนท่องเที่ยว ขอให้ไม,มีข้อจำกัด ในเรื่องการเปิดตลาดและการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ ใน mode 3
นอกจากนี้อินเดียขอให้ไทยยอมรับคุณสมบัติของ Tourism and Travel Related Services Professionals เป็นตน

ออสเตรเลีย

บริการโรงแรมที่พัก บริการด้านภัตตาคาร บริการจัดการด้านอาหาร และเครื่องดื่มนอกสถานที่ ขอให้ยกเลิกข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น 49% ของ ต่างชาติ
ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและตัวแทนท่องเที่ยว ขอให้ยกเลิกข้อจำกัด ในเรื่องการเปิดตลาด ใน mode

8 ข้อผูกพันของสมาชิก WTO ที่สำคัญในสาขาท่องเที่ยว

บริการท่องเที่ยวเป็นสาขาหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ให้ความสนใจและอยู่ในขอบข่ายการเจรจาและยังเป็นสาขาที่มีระตับการเปิดเสรี ที่สูงมากกว่าสาขาบริการอื่น ๆ ในรอบอุรุกวัย โดยมีสมาชิกผูกพันไว้กว่า 120 ประเทศ แต่การเปิดเสรีอย่างเต็มทียังไม่ประสบผลสำเร็จ โดยในแง่ของระดับการเข้าสู่ตลาด (market access) และการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ (national treatment) ปรากฏว่าสมาชิก7.10 ไต้หวันมีระดับการเปิดตลาดตามรูปแบบการให้บริการทังสี่ประเภทแตกต่างกันไปตามแต่ละ ประเภทบริการท่องเที่ยว กล่าวคือ

1.มีจำนวนสมาชิก 49% ที่ไม่มีข้อจำกัด (none) ในการเข้าสู่ตลาด (หรือ
มีการเปิดตลาดอย่างเต็มที่) ใน mode 2 รองลงมาคือ mode 1 (29%) mode 3 (22%) และ mode 4 (1 %)
2.มีจำนวนสมาชิก 52% ที่ไม่มีข้อจำกัด (none) ในการให้การปฏิบัติ เยี่ยงคนชาติใน mode 2 รองลงมาคือ mode 3 (44%) mode 1 (33%) และ mode 4 (11%)
3.ไม่มีประเทศใดเลยที่เปิดการเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มที่ในmode 4 ของ บริการไกด์ท่องเที่ยว อาทิ
mode 1 บางประเทศได้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องการที่จะต้องเข้ามาจัดตั้ง ธุรกิจจึงจะสามารถให้บริการใน mode นี้ในประเทศนั้นได้ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา กำหนดเงื่อนไขเรื่องนี้ไว้ในธุรกิจสำนักงานตัวแทนท่องเที่ยวและผู้ประกอบธุรกิจนำ- เที่ยว อย่างไรก็ตามสมาชิกมักจะไม่ผูกพันใน mode นี้ไว้เนื่องจากขาดความเป็นไปไต้ ทางเทคนิค (lack of technical feasibility) โดยเฉพาะในเรื่องโรงแรมและภัตตาคาร mode 2 สมาชิกส่วนใหญ่จะเปิดเสรีใน mode นี้ mode 3 มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขเรื่องการทดสอบความจำเป็น ทางเศรษฐกิจ (Economic Needs Tests—ENTs) เช่น อิตาลี ได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องนี้ สำหรับการเปิดธุรกิจประเภทบาร์ คาเฟ่ และภัตตาคาร ไต้หวันกำหนดเงื่อนไขการมี ถิ่นที่อยู่สำหรับการให้บริการไกด์ท่องเที่ยว แคนาดามีการกำหนดเรื่องใบอนุญาต สำหรับการจำหน่ายสุรา หรือกรีซ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกสได้กำหนดเงื่อนไข เรื่องสัญชาติสำหรับมัคคุเทศก์ หรือ สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดามีการกำหนดเงื่อนไขเรื่อง การมีถิ่นที่อยู่ (residency) สำหรับการจัดตั้งภัตตาคาร โดยเงื่อนไขเหล่านี้มักจะใช้ สำหรับการออกใบอนุญาต นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการถือหุนของต่างชาติ และ การเข้าร่วมทุนกับคนทองถิ่น เป็นต้น
mode 4 สมาชิกส่วนใหญ่จะไม่ผูกพันการเปิดตลาดใน mode นี้ 9. ข้อผูกพันการเปิดตลาดท่องเที่ยวของไทยในอาเซียน

อาเซียนได้มีการดำเนินการเจรจาเปิดตลาดบริการเป็นรอบ ๆ ละ 3 ปี ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจารอบที่ 3 (] มกราคม พ.ศ. 2545 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547)ซึ่ง ครอบคลุมทุกสาขาโดยใช้หลักการ ASEAN-X โดยดำเนินการทั้งในส่วนการเจรจา จัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดและการจัดทำขอตกลงการยอมรับร่วม (Mutual Recogni­tion Agreement-MRA) ในเรื่องคุณสมบัติของวิชาชีพ (เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การสำรวจ การสอบบัญชีและการทำบัญชี) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะบรรลุการจัดทำ MRA อย่างน้อย 1 สาขาวิชาชีพก่อนเสร็จสินการเจรจาในรอบนี้ (การเจรจาจัดทำ MRA นี้จะใช้ หลักการแบบ ASEAN-X) รวมทั้งการจัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของบุคลากรด้านท่องเที่ยว ใน 4 ตำแหน่ง คอ Restaurant Attendant, Bartender, Room Attendant, Tour and Travel (ticketing officer) โดยไทยกำลังอยู่ในระหว่างเตริยมการเพื่อจัดทำมาตรฐานในด้านนี้อยู่ (มาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซียมีมาตรฐานระดับชาติในด้านบุคลากรด้านการท่อง- เที่ยวแล้ว)
ท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 7 สาขาที่มีอาเซียนมีการเจรจาเปิดเสริภายใต้ AFAS ในสองรอบแรก ทั้งนี้ไทยได้ผูกพันการเปิดตลาดใน first and second package ดังนี้ (1) motel lodging services (CPC 64120) (2) holiday center and holiday home services (CPC 64192) (3) camping and caravan site services (CPPC 64195) (4) theme parks, amusement parks (CPC 96194) (5) marina facilities (6) tourism convention center over 2,000 participants 

โดยมีเงื่อนไขการเปิดตลาดคือ ไม่ผูกพัน mode 1 และไม,มีข้อจำกัดใน mode 2 ส่วนใน mode 3 ได้ว่า ต่างชาติจะเข้ามาจัดตั้งธุรกิจได้ในรูปของบริษัทจำกัดซึ่ง จดทะเบียนในไทย โดยต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ของทุนจดทะเบียน และจำนวน ผู้ถือหุ้นต่างชาติด้องน้อยกว่ากึ่งหนึ่งฃองจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ใน mode 4 ไทย อนุญาตใน้มีการโอนย้ายภายในบริษัทเฉพาะระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ โดยมีระยะเวลาการเข้ามาทำงานเพื่อให้บริการ 1 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 1 ปีใน 3rd package ข้อผูกพันการเปิดตลาดสาขาท่องเที่ยวของไทย คือ (1) hotel lodging services (CPC 64110) (2) meal serving services with full restaurants services (CPC 64210) (3) beverage serving services without entertainment (CPC 64310) โดยมี เงื่อนไขการเปิดตลาดคือ ไม่ผูกพัน mode 1 และไม่มีข้อจำกัดใน mode 2 ส่วนใน mode 3
ได้ว่า ต่างชาติจะเข้ามาจัดตั้งธุรกิจได้ในรูปของบริษัทจำกัดซึ่งจดทะเบียนในไทย โดยต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ของทุนจดทะเบียน และจำนวนผู้ถือหุ้นต่างชาติ ไม่จำเป็นต้องน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทังหมดของบริษัท ใน mode 4 ไทยอนุญาต ใน้มีการโอนย้ายภายในบริษัทเฉพาะระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญโดยมี ระยะเวลาการเข้ามาทำงานเพื่อให้บริการ 1 ปี ต่ออายุได้ 3 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 1 ปี

การเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ของไทย

รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายในการจัดทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ เพื่อนำ จุดแข็งของแต่ละประเทศมาเกื้อกูลกัน และใช้ประโยชน์จากศักยภาพและความได้- เปรียบของแต่ละประเทศ โดยปัจจุบัน ไทยกำลังเจรจาจัดทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ไทย-อินเดีย ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-ญี่ป่น ไทย-บาห์เรน ไทย-สหรัฐอเมริกา ไทย-เปรู ไทย-นิวซีแลนด์ ส่วนการจัดทำ FTA ระหว่างอาเซียนกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-CER และอาเซียน-ญี่ปุ่น


ทั้งนี้บริการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งใน Priority sector ซึ่งเป็นเป้าหมายในการ- เจรจาเข้าสู่ตลาดของไทยกับประเทศคู่เจรจาเหล่านี้โดย เฉพาะภายใต้ยุทธศาสตร์ครัว- ไทยสู่โลก ไทยมีเป้าหมายที่จะขยายจำนวนร้านอาหารไทยในต่างประเทศจากปัจจุบัน (พ.ศ. 2546) ที่มีประมาณ 7,000 แห่ง (คิดเป็นรายได้ 35,000 ล้านบาท) เป็น 10,000 แห่ง ใน พ.ศ. 2549 คิดเป็นรายไต้ประมาณ 50,000 ล้านบาท นอกจากนี้การส่งเสริมการ จัดตั้งร้านอาหารไทยในต่างประเทศยังเป็นช่องทางส่งออกวัตถุดิบ สินค้า OTOP และ อุปกรณ์ตกแต่งเครื่องใช้ในร้านอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น