การเมืองการปกครองพม่าในรอบ 2-3 ปี ที่ผ่านมา จัดว่ามีความสลับซับซ้อนและ ประกอบด้วยเหตุการณ์อันน่าระทึกใจที่ส่งผลกระทบต่อชะตาชีวิตของชาวพม่าและการดำรง อยู่ของระบอบทหาร ยกตัวอย่าง
เช่น การย้ายเมืองหลวงจากกรุงย่างกุ้งไปยังกรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw) เมื่อด้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งจัดเป็นการปรับเปลี่ยนศูนย์อำนาจทางการเมือง ครั้งยิ่งใหญ่เพื่อสถาปนาความมั่นคงให้กับระบอบเผด็จการ ภาวะมิคสัญญีอันเกิดจากการลุกฮือ ของม็อบพระสงฆ์-ประชาชน ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ค.ศ.2007 ซึ่งจบลงด้วยการเคลื่อน กำลังทหารเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมจนนำไปสู่การนองเลือดในประวัติศาสตร์พม่า และที่สำคัญคือ การลงประชามติ (Referendum) รับร่างรัฐธรรมนูญ (Constitution Draft) ช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2008 โดยถึงแม้ว่า พม่าจะประสบกับหายนะครังยิ่งใหญ่จากการถล่มของพายุไซโคลนนาร์ กีส (Nargis) จนทำให้เขตพม่าตอนล่าง (Lower Burma) แถบสามเหลี่ยมปากแม่นำอิระวดี ด้อง ราพณาสูร ไปในพริบตา และมีผู้สังเวยชีวิตประมาณหนึ่งแสนราย แต่รัฐบาลทหารก็ยังคง เดินหน้าจัดให้ฝ็การลงประชามติต่อไปท่ามกลางหยาดเหงื่อ, คราบนํ้าตา และเสียงรํ่าไห้ ของ ประชาชนชาวพม่าที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว ทำไมการลงประชามติจึงปี ความสำคัญต่อรัฐบาลทหารมากกว่าความอยู่รอดของประชาชน? และรัฐบาลทหารปีกุศโลบาย ทางการเมืองอย่างไรในการผ่องถ่ายอำนาจฝานการจัดตังรัฐธรรมนูญ? โจทย์ต่างๆ เหล่านี้ คือ หัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจการเมืองพม่าในรอบสหัสวรรษใหม่ โดยบทความฉบับบี ผู้เขียนจะขอทำการวิเคราะห์และวิพากษ์การเมืองพม่าคับการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์, รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ โดยมีประเด็น ที่น่าสนใจดังต่อไปบี
รัฐธรรมนูญกับประวัติศาสตร์การฒืองพม์า
การจัดทำรัฐธรรมนูญถือเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่พื่งอุบัติขึ้นบนหน้า ประวัติศาสตร์พม่าเมื่อช่วงปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการก่อตัวของ รัฐเอกราชสมัยใหม่ (Modem Independent State) สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่านันได้ ถือกำเนิดขึนเมื่อปี ค.ศ.1947 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการกำหนดโครงสร้างทางการปกครอง แบบสหพันธรัฐ (เน้นการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง) และผลักดันให้พม่ามีระบบเศรษฐกิจ
การเมืองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย ตลอดจน มีการวางหลักประกันขันพืนฐานเกียวกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเลือกที่จะปกครองตนเอง (Self-Determination) ของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างนักการเมือง ชาตินิยมผู้นำมาซึ่งเอกราช กับข้าราชการและโครงสร้างอำนาจทางการเมืองแบบเก่าที่ได้รับ อิทธิพลจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ก็ส่งผลให้รัฐบาลพลเรือนของนายกรัฐมนตรีอูนุ (UNu) ต้อง เผชิญกับป็ญหาในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการสร้างเอกภาพทาง
การเมือง1 ประกอบกับความโกลาหลอันเกิดการจากการลุกฮือของกองกำลังชนกลุ่มน้อยเพื่อ แยกตัวออกจากประเทศพม่า ก็ส่งผลให้กองทัพภายใต้การนำของนายพลเนวิน (Ne Win) ทำ การปฏิวัติรัฐประหารล้มรัฐบาลประชาธิปไตยเมื่อปี ค.ศ.1962 และเข้าปกครองประเทศเพื่อ ธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและเสถียรภาพแห่งรัฐ ต่อมา นายพลเนวินไต้ทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ.!947 แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อปี ค.ศ.!974 โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก ในการกำหนดโครงสร้างทางการปกครองแบบรัฐเดี่ยว และเปีดช่องให้พม่ามีระบบเศรษฐกิจ แบบสังคมนิยมเพื่อแสดงถึงความต้องการปลดปล่อยประเทศให้พ้นจากกระแสทุนนิยม ประชาธิปไตย2 นอกจากนี ยังมีการออกกฎหมายจัดตังพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burmese Socialist Program Party - BSPP) เพื่อเป็นแกนกลางในการบริหารรัฐกิจ ตลอดจน มีการขยาย แนวร่วมทางการเมืองให้ครอบคลุมถึงประชาชนระดับล่างไม่ว่าจะเป็นชาวนาในเขตชนบท และกรรมกรในเขตเมือง เพื่อให้อำนาจของรัฐบาลกลางเกิดการกระจายตัวเข้าปกคลุมทุกส่วน ภาคของประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ.!974 ก็จัดเป็นเครื่องมือสำคัญในการ สร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับรัฐบาล และถูกขับเคลื่อนด้วยกุศโลบายที่ลุ่มลึกของ นายพลเนวินเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกภาพและการดำรงอยู่ของระบอบเผด็จการ โดยสามารถสังเกต ไต้จาก การบรรจุหลักการเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยม (Nationalism), ลัทธิทหารนิยม (Militarism), ลัทธิต่อต้านอาณานิคม (Anti-Colonialism) และลัทธิโดดเดี่ยวนิยม (Isolationism) ไว้ในมาตรา ต่างๆ ของรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้กองทัพ ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกครองรัฐ พม่าท่ามกลางความขัดแย้งที่ร้อนระอุของการเมืองโลกในยุคสงครามเย็น (Cold War)
อย่างไรก็ตาม ความตกตํ่าทางเศรษฐกิจอันเกิดจากความผิดพลาดของนโยบายสังคม นิยม และการบริหารประเทศมาอย่างยาวนานของระบอบทหาร ก็ส่งผลให้ชาวพม่าเป็นจำนวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น