กลุ่มตัวอย่างรับทราบการเปิดเสรีทางการค้าภาคอุตสาหกรรมของประเท-ไทยเกินครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
โดยที่กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
กับการเปิดเสรีทางการค้าภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย รวมถึงรับทราบ
ถึงผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีต่อ ธุรกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศูนย์การศึกษาระหว่างประเทศ
ที่พบว่า "ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรเปิดให้ต่างชาติเข้ามา คิดเป็นร้อยละ 91.3
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการในภูมิภาคส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรให้ต่างชาติเปิดตลาด
ให้บริษัทต่างชาติเข้ามา มีแต่ผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานครและภาคกลางเท่านั้น
ที่คิดเห็นว่าควรเปิดเสรีทางการค้าให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขันไค้ ส่วนเปอร์เซ็นต์ของ
ผู้ประกอบการที่เห็นว่าควรเปิดเสรีทางการค้าคิดเป็นร้อยละ 8.7"
2. ผลกระทบจากเปิดเสรีทางการค้าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย
พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญของปัญหาในการเปิดเสรีทางการค้าภาคอุตสาหกรรมของ
ประเทศไทย 3 อันดับแรก (เรียงตามลำดับ) ได้แก่
2.1 ปัญหาจำนวนคู่แข่งขันในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัย ของศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (2540,
หน้า 5-12) ที่พบว่า “ศักยภาพของผู้ประกอบ-การไทยโดยรวมไม่สูงนัก
มีบริษัทใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทอาจจะแข่งขันได้ดีกับต่าง-ประเทศ
ที่เหลือส่วนใหญ่มักดำเนินธุรกิจแบบอนุรักษ์นิยมขนาดของธุรกิจนำเที่ยวไทย
มีขนาดเล็กใช้ทุนประกอบการน้อย มีการแข่งขันสูง มีขนาดการประกอบการเล็ก และ
ส่วนใหญ่บุ่งทำธุรกิจในประเทศโดยไม่มีสาขาในต่างประเทศ”
2.2 ปัญหาการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรง
ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของ ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนานิติศาสตร์ (ม.ป.ป., หน้า 91) ได้กล่าวไว้ว่า
“หาก-จำเป็นด้องเปิดเสรี รัฐบาลน่าจะมีระยะเวลาที่ชัดเจน
และมาตรการเสริมเพิ่มให้ธุรกิจนาเที่ยวสามารถแข่งขันได้ และมาตรการในการป้องกันการตัดราคาที่อาจเกิดขึ้นได้
โดยเฉพาะใน anti-dumping” และงานวิจัยของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
(2546ก, หน้า 2) ที่พบว่า "ธุรกิจนำเที่ยว" พบว่า หากมีการเปิดเสรีในธุรกิจนี้อุปสรรค
ที่ผู้ประกอบการไทยตองเจอ คือ บริษัทต่างชาติเป็นบริษัทใหญ่ ทำให้มีความได้เปรียบ
เรื่องการบริหารจัดการ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เงินทุนที่มีมากกว่าผู้ประกอบการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น