กองทัพพม่าภายใต้การนำของนายพลเนวิน
ได้ทำการปฏิวัติ ล้มล้างรัฐบาล ซึ่งมีนายลูนุเป็นนายกรัฐมนตริ
และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ และล้มเลิกระบอบรัฐสภาเสีย
โดยการจัดตั้งสภาปฏิวัติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 16 นาย โดยมีนายพลเนวิน
ได้รับการเลือกจากสภาปฏิวัติให้เป็นประธาน ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าประมุขของรัฐและในการปกครองประเทศนั้น
สภาคณะปฏิวัติได้มอบ อำนาจการบริหาร นิติบัญญัติ
และตุลาการให้นายพลเนวินแต่เพียงผู้เดียวดำเนินการปก
ครองประเทศด้วยระบบอำนาจนิยมภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และต่อมาใน ปี
พ.ศ.2516 สภาปฏิวัติได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทนฉบับเติม
ซึ่งมีหลักการ
สำคัญคือ การกำหนดให้พม่าเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ดำเนินการปก
ครองตามระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ( Socialist Democracy )โดยมีสภาเพียงสภา เดียว
ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือ พรรค โครงการสังคมนิยมพม่า
ในด้านเศรษฐกิจกำหนดให้ทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งที่ดินตก เป็นสมบัติของแผ่นดิน
การประกอบธุรกิจเอกชนรัฐอนุญาตให้ดำเนินการภายใต้ ขอบเขตที่กำหนดนโยบายการบริหารประเทศคือนโยบายเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ประกาศยกเลิกสัญญาเมืองปางหลวงดำเนินการปิดประเทศ และ ปราบปรามชนกลุ่ม
น้อยที่แยกตนเป็นอิสระกลุ่มต่าง ๆ โดยลือว่ากลุ่มต่างๆ เหล่านี้เป็นกบฎ ทำให้กอง
กำลังชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ถึง 16 กลุ่ม อาทิ เช่น กลุ่มกะเหรี่ยง มอญ คะยา
กลุ่ม ไทยใหญ่ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า รวมถึงราษฎรในพม่าเองซึ่ง
ต้องประสบปัญหาภายในของพม่าเอง ทั้งจากปัญหาทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจ
ตกตํ่าเกิดการจลาจลขยายไปทั่วเมืองใหญ่ ๆ ในด้นปี พ.ศ.2531 นายพลเนวิน จึงได้ลา
ออกจากผู้นำรัฐบาล หลังจากปกครองประเทศนานถึง 26ปี จนกระทั่งสมัยรัฐบาลพล
แอนภายใต้การนำของ ดร.หม่อง หม่อง สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองก็
ยังไม่ดีขึ้น การจลาจลลุกลามไปทั่วประเทศ คณะทหารนำโดยนายพล ซอหม่อง ได้ทำ
รัฐประหารขึ้นปกครองประเทศในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2531 และได้ดำเนินการปราบ
ปรามประชาชนกลุ่มผู้ต่อด้านรัฐบาลอย่างรุนแรง จนเกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่
รวมทั้งไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนคือพรรค เอ็น แอล (NLD) ของนาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น