วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การเปิดเสรีทางการค้าภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว


สำนักเจรจาการค้าบริการได้สรุปสาระสำคัญการเจรจาการเปิดตลาดบริการสาขา ท่องเที่ยวไว้ดังนี้ (สำนักเจรจาการค้าบริการ, 2547ก)

1. การเจรจาเปิดตลาดบริการสาขาท่องเที่ยว


องค์การการค้าโลก (World Trade Organization--WTO) กำหนด ให้การค้าบริการเป็นเรื่องหนึ่งที่ด้องเจรจาเปิดเสรีนอกเหนือจากการเจรจาเรื่องสินค้า โดยใช้ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Service-- GATS) ซึ่งเป็นกติกาในการเจรจาพันธะหนึ่งที่ GATS ได้กำหนดไว้คือ ต้องมีการเจรจา เปิดเสรีการค้าบริการทุก ๆ 5 ปี หลังจากที่ความตกลง WTO มีผลใช้บังคับ (ปี พ.ศ. 2538)

เพื่อขยายการเปิดตลาด (market access) และยกเลิกอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติ ทังที่เป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างคนในชาติกับคนต่างชาติ และการเลือกปฏิบัติระหว่าง ประเทศสมาชิกด้วยกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ให้บรรลุระดับการเปิดเสรีที่สูงขึ้นแบบ- กาวหน้าเป็นลำดับ (progressive liberalization)

ประเภทของบริการที่นำมาเจรจาเปิดตลาดระหว่างสมาชิกมี 12 สาขา คือ การบริการทางธุรกิจ การเงินการธนาคารและการประกันภัย การสื่อสารและโทรคมนา- คม การขนส่ง การก่อสร้าง การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดจำหน่าย บริการด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การบันเทิงและกีฬา และบริการอื่น ๆ
ใน WTO ได้จำแนกประเภทบริการสาขาท่องเที่ยวออกเป็น 4 สาขาย่อย คือ (1) โรงแรมและภัตตาคาร รวมทั้งบริการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มนอกสถานที่ (catering services) ใน CPC 641-643 (2) ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและตัวแทนท่องเที่ยว (travel agencies and tour operators services) ใน CPC 7471 (3) ไกด์ท่องเที่ยว (tourist guides services) ใน CPC 7472 และ (4) บริการท่องเที่ยวอื่น ๆ (others)

2. รูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศ


การเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ หมายถึง การที่ประเทศ สมาชิกไม่มีมาตรการใด ๆ ที่เป็นการกีดกันไม่ให้ต่างชาติให้บริการในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งการค้าบริการระหว่างประเทศ กระทำไค้ 4 รูปแบบ คือ
2.การให้บริการข้ามพรมแดน (cross-border supply) หรอ mode 1 เป็นการให้บริการในลักษณะที่ทั้งผู้ให้บริการ (advertising agencies) และผู้ซื้อบริการ (advertiser) ต่างอยู่ในประเทศของตนแต่สามารถให้และใช้บริการไค้โดยอาศัย เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยผู้ซื้อและผู้ขายต้องเคลื่อนย้ายตนเองออกนอกประเทศ เช่น การให้บริการจองที่พักและโฆษณา การให้บริการค้านท่องเที่ยวผ่านทางอินเทอร์เน็ตการให้บริการที่ปรึกษา การซื้อประกันภัย การศึกษาทางไกล เป็นค้น
2.2 การออกไปใช้บริการในต่างประเทศ (consumption abroad) หรอ mode 2 ผู้ซื้อบริการในประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น Advertisers เดินทางเช้าไปใช้บริการ ในประเทศทีเป็นทีดังของบริษัทตัวแทนโฆษณาของผู้ให้บริการหรือบริษัทตัวแทน
การศึกษาในต่างประเทศ การเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ รวมถึงการนำเอา ทรัพย์สืนออกไปรับบริการในต่างประเทศด้วย เช่น การนำเครื่องบินไปซ่อม
1.                   การเข้าไปจัดตังนิติบุคคลในประเทศผู้ใช้บริการ (commercial presence) หรือ mode 3 ผู้ให้หรือผู้ขายบริการต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ จัดตัง สาขา ตัวแทน หรือบริษัทในประเทศลูกค้า เช่น การเช้ามาจัดตังธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคาร โรงแรม ซึ่งการค้าบริการรูปแบบนี้ มีปัญหาอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดมากที่สุด
2.                   การเข้ามาทำงานหรือให้บริการของคนต่างชาติ (presence of natural persons) หรือ mode 4 คนต่างชาติที่เป็นบุคคลธรรมดาเข้าไปให้ บริการแก่ลูกค้า ในประเทศ เช่น พ่อครัว นักกฎหมาย นักบัญชี ผู้บริหาร เป็นต้น
อุปสรรคของการชื้อขายบริการ คือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการ ของรัฐบาลที่เป็นการจำกัดการเข้ามาค้าขายบริการของต่างชาติ
การเจรจาเปิดตลาด คือ การเจรจาเพื่อให้ประเทศนั้น ๆ ลด/ยกเลิก กฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการในทุกรูปแบบของการให้บริการ คือ (1) การจำกัดบิให้ มีการชื้อขายบริการผ่านสื่อต่าง ๆ (2) การจำกัดสิทธิคนในชาติเดินทางออกไปซื้อบริการ นอกประเทศ (3) การจำกัดการเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจของต่างชาติ โดยการห้าม ไม่ให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือเป็นเจ้าของธุรกิจในประเทศไต้และ (4) การจำกัด การเข้ามาทำงานของคนต่างชาติ

3. Modality ของการเปิดเจรจาเปิดตลาดในแต่ละกรอบ


การเจรจาเรื่องบริการไม่ไต้มีเฉพาะในเวที WTO นั้น แต่ไต้รวมทุกกรอบ ของการเจรจา ซึ่งระตับความลึกของการเปิดตลาดในแต่ละกรอบจะแตกต่างกัน คือ 3.1 กรอบองค์การการค้าโลก
1.                   เจรจาโดยใช้กรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services-GATS) ซึ่งกำหนดให้สมาชิกต้องเจรจาทุก ๆ ปี เพื่อ ลด/เลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาค้าขายบริการของต่างชาติ
2.                   การเปิดตลาดของแต่ละประเทศเปิดมากน้อยเพียงใดขึ้นกับ การเจรจาต่อรอง
 ต้องให้การปฏิบัติต่อสมาชิก WTO อย่างเท่าเทียมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น