ถึงแม้ว่ารัฐบาลทหารจะประกาศให้การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเป็นจุดเปลี่ยน ครั้งสำคัญของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย (Democratization) ในพม่า แต่หากพิจารณา จากบทบัญญัติมาตราต่างๆ ก็จะพบว่า แท้ที่จริงแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับมี ลักษณะเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการดำรงอยู่ของระบอบทหารและผลักตันให้กองทัพ กลายเป็นเสาหลักในการปกครองรัฐพม่าสืบต่อไป สำหรับเนือหาของร่างรัฐธรรมนูญ ผู้เขียน จะขอหยิบยกเพียงแค'บางประเด็น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
- 1) พม่ามีรูปแบบการปกครองแบบสหภาพ (Union System) กล่าวคือโครงสร้างอำนาจ รัฐจะรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ โดยรัฐบาลกลางซึ่งมีประธานาธิบดีเป็น ประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร จะทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการปกครองและพัฒนาประเทศ แต่ในขณะเดียวคันก็จะมีโครงสร้างการบริหารพืนที่ในรูปแบบสหพันธรัฐในระดับภูมิภาค ซึ่ง เป็นพืนที่ซึ่งมีสิทธิทางการปกครองตนเองบางส่วนตามโครงสร้างทางชาติพันธุ
- 2) กองทัพคือสถาบันหลักในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐและการพัฒนา ประเทศให้ทันสมัยโดยมีหน้าที่ด้วยคัน 14 ประการ เช่น ปกป้องรักษาสหภาพพม่าจากภัย อันตรายทั้งภายในและภายนอก ปกป้องรักษารัฐธรรมนูญแห่งรัฐ บริหารจัดการเพื่อการมีส่วน ร่วมของประชาชนในการป้องกันประเทศ บัญชาการกองกำลังทังหมดที่มีอยู่ในชาติ บริหาร กิจการอย่างเป็นอิสระในภารกิจที่เกี่ยวคับกองกำลังต่างๆ โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะมี หน้าที่ในการควบคุมกำลังรบและมีฐานะทางราชการเทียบเท่ากับตำแหน่งรองประธานาธิบดี
- 3) รัฐสภาแห่งสหภาพพม่าจะประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 440 ที่นั่ง และสภาชนชาติ (House of Nationalities) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 224 ที่นั่ง โดยสมาชิกทังสองสภาจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และ
- 4) ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของประเทศโดยต้องมีคุณสมบัติด้วยคัน 8 ประการ เช่น ต้องเป็นพลเมืองของพม่าผู้ซึ่งทังบิดาและมารดามีสัญชาติพม่าโดยกำเนิด ต้อง เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าติดต่อกันเป็นเวลา 20ปี นับแต่วันเลือกตัง ต้องมีความคุ้นเคย กับกิจการของรัฐ เช่น การเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ และการทหาร และที่สำคัญคือ ผู้ทื่จะ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือคู่สมรสของบุตรจะต้องไม่มีความ เกี่ยวข้องกับอำนาจของชาวต่างชาติ หรือเป็นพลเมืองของประเทศอื่น และต้องไม,ได้รับสิทธิ หรือประโยชน์อันใดจากประเทศอื่น11
- 5) คณะรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต้านความมั่นคง เช่น รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงความมั่นคงภายใน และกระทรวงกิจการชายแดน จะต้องเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น