ประวัติศาสตร์พม่าสมัยใหม่ จะพบว่า นับตั้งแต่การครองอำนาจของพลเอกอาวุโสตานฉ่วยและ สภาพัฒนาและสันติภาพแห่งรัฐ กลุ่มคณะทหารได้ทำการปรับประยุกต์ใช้ธรรมเนียมราชสำนัก โบราณที่อิงแอบอยู่กับหลักพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมือง เนื่องจาก การที่รัฐบาลปฏิเสธการถ่ายโอนอำนาจทางการปกครองให้กับนางอองซาน ซูจี ตามวิถี ประชาธิปไตย หลังความปราชัยในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ.!990 ได้ส่งผลโดยตรงต่อความ เชื่อมั่นและความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ดังบัน การลอกเลียนแบบพฤติกรรมของ กษัตริย์พม่าในอดีตโดยการส่งเสริมพระพุทธศาสนาจึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อเรียกศรัทธา คืนจากประชาชนเนื่องจากพระสงฆ์จัดเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของคนพม่า ฉะบัน การดึง สถาบันสงฆ์เช้ามาเป็นพวกเดียวกับรัฐจึงเป็นการดึงศรัทธาประชาชนให้มาอยู่ในมือของรัฐ เช่นเดียวกัน
สำหรับตัวอย่างการใช้ศาสนาเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองจัดว่ามีหลายกรณี เช่น เมื่อมีการค้นพบหินอ่อนขนาดใหญ่ รัฐบาลทหารก็สั่งให้สกัดหินอ่อนเพื่อนำมาสร้างเป็น พระพุทธรูป เพราะคติความเชื่อของพม่าบันมองว่าการพบหินอ่อนขนาดใหญ่จะเกิดขึนกับผู้มี บุญญาบารมีและการสร้างพระพุทธรูปก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของจารีตโบราณ จากกรอบแนวคิด ดังกล่าว รัฐบาลทหารได้ตัดสินใจสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยทำ กรอบแก้วครอบทับองค์พระพุทธรูปอีกทีหนึ่ง7 หรือในกรณีที่รัฐบาลทหารประกาศยกฉัตร เจดีย์ชเวดากองเมื่อปี ค.ศ.!999 ซึ่งเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งของประเทศ โดยการยกฉัตรครัง ก่อนหน้านีเกิดขึนในสมัย1ของพระเจ้ามันดงแห่งราชสำนักทัณฑะเลย์ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ ที่รัฐบาลพม่าตัดสินใจส่งกองกำลังทหารเช้าปราบปรามกลุ่มพระสงฆ์จนทำให้เกิดการนอง เลือดในประวัติศาสตร์ก็จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลหมดศักดิสทธในการใช้ศาสนาเป็น เครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการเมืองเนื่องจากการสังหารสงฆ์ถือเป็นการกระทำ อบันตริยกรรมที่ร้ายแรงตามหลักพระพุทธศาสนา และส่งผลโดยตรงต่อภาพลักษณ์ทาง การเมืองของรัฐบาล จากข้อจำกัดดังกล่าว การประกาศให้มีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการปรับประยุกต์ใช้เครื่องมือทางด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์เพื่อเติมเต็มความชอบ ธรรมทางการเมืองให้กับรัฐบาลหลังเหตุการณ์ลุกฮือของม็อบพระสงฆ์-ประชาชน รวมถึงเป็น ยุทธศาสตร์หลักเพื่อลดแรงกดดันจากการควํ่าบาตรของประคมโลก และ เป็นการโน้มน้าวให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น